เรื่อง การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
(0 User reviews)
165
117
การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
การบริหารความเสี่ยง ด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk)
ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่สหกรณ์ออมทรัพย์ไม่สามารถชำระหนี้สิน และภาระผูกพันเมื่อถึงกำหนด เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสดได้ หรือไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอ
หรือสามารถจัดหาเงินทุนได้แต่ด้วยต้นทุนที่สูงเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ
รายได้ของสหกรณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
แหล่งที่มาของปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยภายนอก เช่น
- การเสนอโปรโมชั่นทางการตลาดที่จูงใจกว่าของสถาบันการเงินอื่น
- ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการลดความน่าเชื่อถือของขบวนการสหกรณ์
- การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ของภาครัฐ
ปัจจัยภายใน เช่น
- แผนกลยุทธ์และนโยบายสหกรณ์ในการจัดหาเงินเข้าสหกรณ์
- ไม่มีการกำหนดกรอบของแปล่งที่มาและแหล่งใช้ไปของเงินทุนอย่างชัดเจน
และเหมาะสม
- บุคลากรขาดความรู้ความสามารถในการบริหารการเงิน
แนวทางบริการความเสี่ยง
- มีการจัดทำประมาณการเงินสดรับจ่าย (Cash Flow Projection) รายปี รายเดือน
รายสัปดาห์ รายวัน
- มีแผนระดมเงินฝาก และ/หรือค่าหุ้นที่สอดคล้องกับแผนการฝากและ/หรือการ
ลงทุนประจำปี
- มีแผนในการจัดการสภาพคล่องในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือวิกฤกติ
- มีการศึกษา วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลเงินฝาก/ทุนเรื่องหุ้นแยกตามขนาด
ของเงินฝาก/ทุนเรือนหุ้น และพฤติกรรมการฝาก/ถอนเงิน และการถือหุ้น/การถอนหุ้น
คืนของสมาชิกและสมาชิกสมทบ และนำไปใช้ในการบริหารจัดการสภาพคล่อง
อ่านเพิ่มเติม
คู่มือประเมินเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์
https://drive.google.com/file/d/1JwhAujkblYGqAuGTB9LLk0ZJa2j_g6zu/view
แผนบริหารความเสี่ยงสหกรณ์ออมทรัพย์ตามเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2566
http://www.fsct.com/fsct_newss.php?new=2587#sthash.fumSGeRx.dpbs
ร่างตัวอย่างเครื่องมือแผนบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์
http://www.fsct.com/fsct_newss.php?new=2251#sthash.9WRYoM03.dpbs
อินโฟกราฟฟิก เรื่อง การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
โดย นางสาวอารีรัตน์ อาจรักษา
ผู้แต่ง/ผู้เรียบเรียง คณะทำงานจัดทำคู่มือประเมินเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์
หน่วยงาน ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด
จำนวนหน้า 1
ปีที่พิมพ์ 2561