eBooks

336 found
หมวด2 ข้อ 2.2 เรื่อง เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวด 2 สภาพคล่องทางการเงิน ลูกหนี้เงินกู้ที่ชำระได้ตามกำหนด

Authors: -

In การประเมินมาตรฐานสหกรณ์

By Admin FSCT

ลูกหนี้เงินกู้ที่ชำระได้ตามกำหนด อัตราส่วนนี้จะอธิบายว่า ความสามารถในการเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้ที่ถึงกำหนดชำระได้มากน้อยเพียงใด น้อยกว่า 85% = 1 คะแนน น้อยกว่า 90% = 4 คะแนน ค่าที่ดี มากกว่า 95% = 8 คะแนน กรณีน้อยกว่า 95% แสดงว่า สมาชิกของสหกรณ์มีหนี้เงินกู้มากเกินความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของสหกรณ์ได้ แก้ไขโดย เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยเงินกู้ให้กับสมาชิก กรณีมากกว่า 95% ข้อดี ทำให้สหกรณ์มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีต่อการดำเนินงาน ที่จะสามารถชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้ตามกำหนด

หมวด 2 ข้อ 2.1 เรื่อง เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวด 2 สินทรัพย์หมุนเวียน ต่อหนี้สินหมุนเวียน

Authors: -

In การประเมินมาตรฐานสหกรณ์

By Admin FSCT

สินทรัพย์หมุนเวียน ต่อหนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนนี้จะอธิบายว่า ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นหรือสภาพคล่องของกิจการมีมากน้อยเพียงใด น้อยกว่า 0.10 = 1 คะแนน น้อยกว่า 0.35 = 3 คะแนน น้อยกว่า 0.60 = 5 คะแนน ค่าที่ดี มากกว่า 0.85 เท่า = 8 คะแนน กรณีน้อยกว่า 0.85 เท่า แสดงว่า สหกรณ์มีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นต่ำ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสหกรณ์จะไม่สามารถชำระหนี้ระยะสั้นได้ แต่อาจทำให้สหกรณ์เกิดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสหกรณ์ได้ แก้ไขโดย ปรับลดเงินกู้ยืมระยะสั้นให้น้อยลง และเพิ่มในส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนให้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ สหกรณ์ต้องคำนึงถึงการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานด้วย กรณีมากว่า 0.85 เท่า ข้อดี ทำให้สหกรณ์มีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นสูง

หมวด 1 ข้อ 1.6 เรื่อง เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวด 1 โครงสร้างทางการเงิน อัตราส่วนเงินกู้ยืมภายนอกต่อทุนของสหกรณ์

Authors: -

In การประเมินมาตรฐานสหกรณ์

By Admin FSCT

เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวดโครงสร้างทาง การเงิน เป็นการวัดโครงสร้างทางการเงินว่าแหล่งที่มาของเงินทุนมาจากที่ใด และแหล่งที่ใช้ไปของเงินทุนใช้ไปในทางใดบ้าง อัตราส่วนเงินกู้ยืมภายนอกต่อทุนของสหกรณ์ อธิบายว่า สหกรณ์มีหนี้เงินกู้ยืมภายนอกมากน้อย เพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับทุนของสหกรณ์ กรณีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 เท่า แสดงว่า สหกรณ์มีเงินกู้ยืมภายนอกไม่เกินทุนของสหกรณ์ ข้อดีทำให้สหกรณ์สามารถชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้เงินกู้ได้ เป็นการลดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสหกรณ์ กรณีมากกว่า 1 เท่า แสดงว่า สหกรณ์มีหนี้สินมากเกินไป อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสหกรณ์ได้ การแก้ไข ปรับลดเงินกู้ยืมระยะสั้น ระยะยาว และเงินเบิกเกินบัญชีให้น้อยลง

หมวด 1 ข้อ 1.5 เรื่อง เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวด 1 โครงสร้างทางการเงิน อัตราส่วนทุนสำรองต่อสินทรัพย์รวม

Authors: -

In การประเมินมาตรฐานสหกรณ์

By Admin FSCT

เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวดโครงสร้างทาง การเงิน เป็นการวัดโครงสร้างทางการเงินว่าแหล่งที่มาของเงินทุนมาจากที่ใด และแหล่งที่ใช้ไปของเงินทุนใช้ไปในทางใดบ้าง อัตราส่วนทุนสำรองต่อสินทรัพย์รวม อธิบายว่า สหกรณ์มีทุนสำรองมากหรือน้อยเพียงใด เปรียบเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด ค่าที่ดี มากกว่า 10% กรณีน้อยกว่า 10% แสดงว่า สหกรณ์มีการจัดสรรกำไรสุทธิเป็นเงินทุนสำรองน้อยเกินไป อาจ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ได้ การแก้ไข จัดสรรกำไรสุทธิให้เป็นเงินทุนสำรองในแต่ละปีให้มากขึ้น กรณีมากกว่า 10% ข้อดี ทำให้สหกรณ์มีความมั่นคงสูง เนื่องจากทุนสำรองเป็นตัวกำหนดความ เข้มแข็งและความมั่นคงของสหกรณ์เป็นหลักประกันความเสี่ยงไม่ให้ทุนเรือนหุ้นของสมาชิกลดลงโดยง่ายหากสหกรณ์เกิดภาวะขาดทุน

หมวด 1 ข้อ 1.4 เรื่อง เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวดโครงสร้างทางการเงิน อัตราส่วน เงินลงทุนต่อสินทรัพย์รวม

Authors: -

In การประเมินมาตรฐานสหกรณ์

By Admin FSCT

เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวดโครงสร้างทาง การเงิน อัตราส่วนเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินลงทุน เงินฝากสหกรณ์อื่น ตั๋วสัญญาใช้เงินสหกรณ์อื่นต่อสินทรัพย์รวม อธิบายว่า สหกรณ์มีเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินลงทุน เงินฝากสหกรณ์อื่น ตลอดจนตั๋วสัญญาใช้เงินอื่นเป็นร้อยละเท่าใดของสินทรัพย์ทั้งหมด ค่าที่ดี 20-30% กรณีน้อยกว่า 20-30% แสดงว่า สหกรณ์มีการนำเงินไปฝากหรือลงทุนน้อยเกินไป ซึ่งไม่สัมพันธ์ กับเงินรับฝากจากสมาชิก อาจเกิดจากการนำเงินไปให้สมาชิกกู้มากเกินไปนำมาซึ่งความเสี่ยงได้ การแก้ไข เพิ่มในส่วนของการฝากหรือลงทุนให้มากขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้เหมาะสม ทั้งนี้ สหกรณ์คำนึงถึงความเสี่ยงของการลงทุนในแต่ละประเภท กรณีมากกว่า 20-30% แสดงว่า สหกรณ์ไม่ได้บริหารงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ คือ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกเท่าที่ควร การแก้ไข ปล่อยเงินกู้ให้สมาชิกแต่ละรายในวงเงินที่เพิ่มขึ้น หรือปล่อยเงินกู้ให้สมาชิกจำนวนรายเพิ่มขึ้น

หมวด 1 ข้อ 1.3 เรื่อง เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวดโครงสร้างทางการเงิน อัตราส่วนลูกหนี้เงินกู้ทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์รวม

Authors: -

In การประเมินมาตรฐานสหกรณ์

By Admin FSCT

เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวดโครงสร้างทาง การเงิน อัตราส่วนลูกหนี้เงินกู้ทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์รวม อธิบายว่า สหกรณ์ได้ให้เงินกู้แก่สมาชิกและให้กู้แก่สหกรณ์อื่นเป็นร้อยละเท่าใดต่อสินทรัพย์ทั้งหมด ค่าที่ดี 70-80% กรณีน้อยกว่า 70-80% แสดงว่า สหกรณ์มีการปล่อยเงินกู้ให้แก่สมาชิกเป็นจำนวนน้อยอาจ เป็นไปได้ว่ามีการให้สมาชิกกู้ต่อรายต่ำเกินไป ซึ่งอาจทำให้สมาชิกไม่สามารถใช้จ่ายเงินได้ตรงตามวัตถุประสงค์ การแก้ไข ปล่อยเงินกู้ให้สมาชิกในแต่ละรายในวงเงินที่เพิ่มขึ้นหรือปล่อยเงินกู้ให้จำนวนรายเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มการให้กู้กับสหกรณ์อื่น กรณีมากกว่า 70-80% แสดงว่า สหกรณ์มีการปล่อยเงินกู้ให้แก่สมาชิกเป็นจำนวนมาก อาจทำให้สหกรณ์เกิดความเสี่ยงด้านเครดิต และสภาพคล่องได้ การแก้ไข ปล่อยเงินกู้ให้ละรายในวงเงินที่น้อยลง หรือปล่อยเงินกู้ให้น้อยรายลง หรือกำหนดงวดชำระหนี้ให้สั้นลง

หมวด 1 ข้อ 1. 2 เรื่อง เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวดโครงสร้างทางการเงิน อัตราส่วนเงินรับฝาก (เฉพาะสมาชิก) ต่อสินทรัพย์รวม

Authors: -

In การประเมินมาตรฐานสหกรณ์

By Admin FSCT

เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวดโครงสร้างทาง การเงิน อัตราส่วนเงินรับฝาก (เฉพาะสมาชิก) ต่อสินทรัพย์รวม อธิบายว่า สหกรณ์มีเงินรับฝากทั้งสิ้นมากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด ค่าที่ดี 60-70% กรณีน้อยกว่า 60-70% แสดงว่า สหกรณ์มียอดเงินรับฝากจากสมาชิกน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่ง อาจส่งผลให้การขยายตัวของสหกรณ์เป็นไปได้ช้า การแก้ไข จัดกิจกรรมส่งเสริมการรับฝากเงินจากสมาชิก กรณีมากกว่า 60-70% แสดงว่า สหกรณ์มีทุนเรือนหุ้นมากเกินไป อาจทำให้สหกรณ์ขยายตัว ได้ช้า และอาจทำให้ผู้บริหารมีภาระในการหารายได้ให้เพียงพอกับการจ่ายเงินปันผลที่สมาชิกคาดหวัง แก้ไขโดย จำกัดการเพิ่มหุ้นของสมาชิก และส่งเสริมการออมของสมาชิกในรูปแบบของเงินฝากแทนการเพิ่มหุ้น

หมวด 1 ข้อ 1.1 เรื่อง เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวด โครงสร้างทางการเงิน อัตราส่วนทุนเรือนหุ้นต่อสินทรัพย์รวม

Authors: -

In การประเมินมาตรฐานสหกรณ์

By Admin FSCT

เกณฑ์ประเมินมาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ หมวดโครงสร้างทาง การเงิน อัตราส่วนทุนเรือนหุ้นต่อสินทรัพย์รวม อธิบายว่า สหกรณ์มีทุนเรือนหุ้นมากหรือน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด ค่าที่ดี 20-30% กรณีน้อยกว่า 20-30% แสดงว่า สหกรณ์มีทุนเรือนหุ้นน้อยเกินไป ทำให้สหกรณืมีความมั่นคงต่ำ แก้ไขโดย จัดกิจกรรมส่งเสริม เพื่อดึงดูดให้สมาชิกเพิ่มหุ้นกับสหกรณ์ กรณีมากกว่า 20-30% แสดงว่า สหกรณ์มีทุนเรือนหุ้นมากเกินไป อาจทำให้สหกรณ์ขยายตัว ได้ช้า และอาจทำให้ผู้บริหารมีภาระในการหารายได้ให้เพียงพอกับการจ่ายเงินปันผลที่สมาชิกคาดหวัง แก้ไขโดย จำกัดการเพิ่มหุ้นของสมาชิก และส่งเสริมการออมของสมาชิกในรูปแบบของเงินฝากแทนการเพิ่มหุ้น